มูลนิธิธรรมาภิบาลทางกฎหมายและศูนย์วิชาการคณะเดชอุดม ไกรฤทธิ์ จัดอบรมหลักสูตร”บทบาททนายความในการพิจารณาระบบ ไต่สวน (ภาค 5 )
เมื่อวันที่ 27 ต.ค.2561 เวลา 08.30 น.ณ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ ประธานกรรมการมูลนิธิธรรมาภิบาลทางกฎหมาย ,ประธานกองทุนศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ คณะกรรมการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ ,ดร.วิเชียร ชุปไธสง อดีอุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ สภาทนายความ (ปี 56-59) นางสาวณเพ็ญพัฒน์ จำเพียร ประธานชมรมทนายความจังหวัดเชียงใหม่ ,หม่อมราชวงศ์ เจริญสุข สุขสวัสดิ์ ทนายความอาวุโส /อดีตกรรการบริหารสภาทนายความภาค 5 ,นายวราวุฒิ หน่อคำ อดีตกรรมการบริหารสภาทนายความภาค 5 (ปี 50-53)นายสุมิตร มาศรังสรรค์ อดีตอุปนายกฝ่ายวิชาการสภาทนายความ (ปี 56-59 ) ได้ร่วมกันเปิดการอบรมหลักสูตรบทบาททนายความในการพิจารณาระบบ ไต่สวน (ภาค 5 )โดยมีทนายความในพื้นที่ภาค 5 จากจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง จำนวนกว่า 300 คนเข้าร่วมการอบรม ทั้งนี้เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพ ด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม และมีศักยภาพ
นางสาวณเพ็ญพัฒน์ จำเพียร ประธานชมรมทนายความจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า การจัดงานอบรมในครั้งนี้ ทางมูลนิธิธรรมาภิบาลทางกฎหมายและศูนย์วิชาการคณะเดชอุดม ไกรฤทธิ์ จัดอบรมหลักสูตร”บทบาททนายความในการพิจารณาระบบ ไตร่สวน (ภาค 5 ) ได้จัดการอบรมขึ้นโดยมีสัตถุประสงค์ต้องการให้ผู้ประกอบอาชีพทนายความได้มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายใหม่ โดยมีทนายความอาวุโส ซึ่งผ่านการประกอบอาชีพทนายความานานกว่า 50 ปี มาให้ความรู้ ในเรื่องการดำเนินคดีระบบไต่สวน ในศาล ซึ่งคาดว่าผู้ที่เข้ารับการอบรมจะนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพด้วยความเข้มแข็ง และมีศักยภาพ เพราะสังคมปัจจุบัน อาชีพทนายความมีความขัดแย้งกันตลอดเวลา การอบรมจะสามารถเพิ่มทักษะ ความรู้ ความสามารถ การสร้างภาวะความเป็นผู้นำได้อย่างดียิ่ง

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ ประธานกรรมการมูลนิธิธรรมาภิบาลทางกฎหมาย กล่าวว่า ทนายความทุกคนต้องมีความรู้ และสามารถแยกแยะบทบาททนายความในการพิจารณาระบบ ไต่สวน (ภาค 5 ) ได้อย่างรัดกุมและคุณภาพ ซึ่งปัจจุบันการดำเนินคดียังคงเป็นระบบกล่าวหา ศาลเป็นกลาง มีอำนาจในการพิจารณาคดี ด้วยการฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานต่างๆตามที่คู่ความนำเสนอต่อศาล ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความ ซึ่งการดำเนินคดีระบบไต่สวนศาลจะทำหน้าที่เป็นผู้แสวงหาข้อเท็จจริง ด้วยการไต่สวนพยานหลักฐาน ตามกฎหมากำหนด ซึ่งปัจจุบันนี้มีข้อกฎหมายอื่นๆกว่า 1,700 ฉบับ การกอบอาชีพทนายความต้องทำตัวเหมือนซอฟแวร์ ที่มีความรู้และคุณภาพในการทำงาน โดยปัจจุบันยังมี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับแก้ไข ปี 2560 ที่ต้องศึกษาเรียนรู้ให้เท่าทัน เนื่องจาก พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เป็นโหมดจำเป็นในชีวิตประจำวัน

CR: คุณสมพงษ์ ธาตุอินทร์จันทร์