ขบ.ขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมสู่การปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

335450กรมการขนส่งทางบก รับมอบนโยบาย พร้อมเผยทิศทางองค์กรเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมในการควบคุม กำกับ ดูแล ระบบการขนส่งทางถนนให้มีคุณภาพและปลอดภัย ภายในปี 2564 เร่ง!!! พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน พร้อมมุ่งมั่นพัฒนาการให้บริการประชาชน
วันนี้ (13 ธันวาคม 2560) เวลา 10.30 น. ณ ห้องประชุมอาคาร 6 ชั้น 7 กรมการขนส่งทางบก นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานมอบโยบายเกี่ยวกับการบริหารราชการและการปฏิบัติงานภายใต้บทบาทภารกิจของกรมการขนส่งทางบก โดยมุ่งเน้นการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมสู่การปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเร่งผลักดันให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งทางถนน การปฏิรูประบบขนส่งทางถนนทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเป็นส่วนสำคัญเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาประเทศสู่การเป็นไทยแลนด์ 4.0 เป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งทางถนนและโลจิสติกส์ของภูมิภาคอาเซียน โดยมีนายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก นายกมล บูรณพงศ์ และเชิดชัย สนั่นศรีสาคร รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก พร้อมด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบกให้การต้อนรับและรับมอบนโยบายเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ

นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก สรุปถึงภารกิจกรมการขนส่งทางบกในการดำเนินงานที่ผ่านมา พร้อมกล่าวถึงนโยบายที่จะดำเนินงานในปี 2561 ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การดำเนินงานและค่านิยม One Transport ของกระทรวงคมนาคม ต่อยอดสู่กรอบแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี โดยเน้น Action Plan ที่ปฏิบัติได้เป็นรูปธรรม บนพื้นฐานการสร้างความเข้มแข็งของโครงสร้างเชิงระบบ เชิงป้องกันสู่ความมั่นคงในระยะยาว ด้วยหลักการความเป็นมาตรฐานเดียวกัน กรมการขนส่งทางบกได้กำหนดแผนการดำเนินงานและทิศทางองค์กรสู่การ “เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมในการควบคุม กำกับ ดูแล ระบบการขนส่งทางถนนให้มีคุณภาพและปลอดภัย” โดยมีบทบาทในฐานะองค์กรที่มีหน้าที่บริหารจัดการด้านความปลอดภัยทางถนน ยานพาหนะปลอดภัย และผู้ใช้รถใช้ถนนปลอดภัย ด้วยมาตรการเชิงป้องกัน อาทิ โครงการมั่นใจทั่วไทย รถใช้ GPS การยกระดับความปลอดภัยบนท้องถนนด้วยระบบบริหารจัดการการเดินรถโดยสารและรถบรรทุกที่มีประสิทธิภาพ เป็นรูปธรรม สังคมสาธารณะมีส่วนร่วมในระบบบริหารจัดการ และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันและโลจิสติกส์ของประเทศ มีผลบังคับใช้เป็นรูปธรรมแล้วตั้งแต่ 25 มกราคม 2559 รถโดยสารและรถบรรทุกติดตั้งครบทุกคันภายในปี 2562 และอยู่ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้างอาคารบริหารศูนย์ GPS ซึ่งจะแล้วเสร็จและเปิดใช้เต็มรูปแบบในปี 2562 ศูนย์ควบคุมระบบตรวจสภาพรถ (VICC: Vehicle Inspection Control Center) ทุกสำนักงานขนส่งจังหวัดรวม 81 แห่ง ทั่วประเทศ เพื่อบริหารจัดกาและควบคุมทั้งสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) และการตรวจสภาพรถโดยหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก โดยเชื่อมโยงข้อมูลกับศูนย์ VICC กลางที่สำนักวิศวกรรมยานยนต์ พร้อมดำเนินการครบทุกแห่งทั่วประเทศแล้วภายในปีนี้

โครงการยกระดับมาตรฐานวิศวกรรมยานยนต์ ดำเนินการต่อเนื่องสอดคล้องตามมาตรฐานสากล ปรับลดความสูงของรถโดยสารสองชั้นจดทะเบียนใหม่หรือปรับปรุงตัวถัง สูงไม่เกิน 4 เมตร จากเดิม 4.30 เมตร เป็นไปตามมาตรฐานสากล มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2560 เป็นต้นไป ส่วนรถโดยสารที่มีความสูงตั้งแต่ 3.60 เมตรขึ้นไป ต้องผ่านเกณฑ์การทดสอบการทรงตัวโดยเครื่องทดสอบการทรงตัวมาตรฐานสากล นอกจากนี้ รถโดยสารและรถบรรทุกที่จดทะเบียนใหม่หรือเปลี่ยนตัวถัง ต้องติดตั้งอุปกรณ์สะท้อนแสง เฉพาะรถบรรทุกติดแผ่นสะท้อนแสงควบคู่ด้วย ตามมาตรฐานสากล ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป ส่วนรถโดยสารที่จดทะเบียนใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 จะต้องผ่านการรับรองมาตรฐานความแข็งแรงที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัย, การรับรองความแข็งแรงของโครงสร้างหลักของตัวถังรถโดยสาร และมาตรฐานการลุกไหม้ของวัสดุสำหรับตกแต่งในรถโดยสาร และอยู่ระหว่างกำหนดสมรรถนะของระบบห้ามล้อของรถยนต์ รวมถึงสมรรถนะของระบบการป้องกันการล็อกของล้อ (ABS) และระบบหน่วงความเร็ว (Retarder) ซึ่งจะดำเนินการออกประกาศภายในปี 2561 การกำหนดมาตรฐานรถโดยสารที่มีความเหมาะสมและปลอดภัยทดแทนรถตู้โดยสารประจำทาง ดำเนินการแบบเป็นขั้นตอนเพื่อลดผลกระทบ สร้างความเข้าใจ เริ่มจากปรับเปลี่ยนมาตรฐานรถตามความสมัครใจ การกำหนดในโครงการนำร่องในเส้นทางใหม่ จนถึงการทยอยเปลี่ยนมาตรฐานเมื่อรถตู้โดยสารเดิมครบอายุการใช้งานตามเงื่อนไขใบอนุญาตเดิม พร้อมดำเนินงานควบคู่กับมาตรการช่วยเหลือที่เหมาะสมเพื่อจูงใจและลดผลกระทบของผู้ประกอบการ นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างศึกษาการกำหนดให้ผู้ประกอบการรถโดยสารและรถบรรทุกต้องมีผู้จัดการด้านความปลอดภัยในการขนส่งทางถนน (Transport safety manager) เป็นผู้รับผิดชอบของผู้ประกอบการ ด้านความปลอดภัยทั้งในการบริหารจัดการ การวางแผนจัดการการขนส่ง การดูแลพนักงานขับรถ ความพร้อมของยานพาหนะ และการกำกับดูแลความปลอดภัยในการขนส่ง ซึ่งจะสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และ คุณสมบัติ Safety Manager ทั้งผู้ประกอบการรถโดยสารและรถบรรทุกได้ภายในปี 2561 นี้ ด้านผู้ใช้รถใช้ถนนปลอดภัย กรมการขนส่งทางบกพัฒนากระบวนการออกใบอนุญาตขับรถและผู้ประจำรถให้มีคุณภาพ ตามมาตรฐานสากล ภายใต้โครงการ Sure Driving / Smart Driver ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ทั้งระบบ ในทุกขั้นตอนเป็นระบบ Electronic ตั้งแต่กระบวนการแสดงตัวตน การอบรม และทุกขั้นตอนการทดสอบ ยกเลิกการทดสอบโดยเจ้าหน้าที่ เป็นการยกระดับพัฒนาหลักสูตรทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ

บทบาทนโยบายด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์ เร่งรัดพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของผู้ประกอบการ อาทิ การพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล , โครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาคเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางถนน (จังหวัดชายแดน 9 แห่ง ประกอบด้วย เชียงราย ตาก มุกดาหาร หนองคาย สระแก้ว ตราด กาญจนบุรี สงขลา และนราธิวาส), โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไทย-ลาว-จีน ผ่านเส้นทาง R3A เริ่มการก่อสร้างตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2560 พร้อมกำหนดพิธียกเสาเอกวันที่ 18.1.18 (18 มกราคม 2561) คาดพร้อมเปิดให้บริการในปี 2563, โครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม รองรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไทย-ลาว-เวียดนาม-จีน ผ่านเส้นทาง R12 เริ่มการก่อสร้างตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา และพร้อมเปิดให้บริการในปี 2563, สถานีขนส่งสินค้าเมืองหลัก 8 แห่ง (เชียงใหม่, นครสวรรค์, พิษณุโลก, ขอนแก่น, อุบลราชธานี, นครราชสีมา, ปราจีนบุรี, สุราษฎร์ธานี) รวมถึงการก่อสร้างสถานีขนส่งผู้โดยสารจัดทำแผนแม่บทในการดำเนินการและการพัฒนาสถานีขนส่งคนโดยสาร ภายในระยะเวลา 20 ปีข้างหน้า ในภาพรวมทั้งประเทศ นำร่องในกลุ่มสถานีขนส่งผู้โดยสารที่มีลำดับความสำคัญสูง จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสงขลา สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา และสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ โดยให้ผู้รับผิดชอบโครงการพิจารณาติดตามความคืบหน้าการดำเนินการอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลา

อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของโครงการเร่งด่วน เช่น โครงการจัดให้มีระบบรถสาธารณะที่สนามบินทุกแห่งทั่วประเทศ ตลอดจนแนวนโยบายการเชื่อมต่อ ต่อเนื่องในทุกรูปแบบ ทุก Mode การขนส่ง จึงกำหนดเส้นทางเดินรถโดยสารให้เชื่อมต่อระหว่างท่าอากาศยาน ตัวเมือง หรือจุดเชื่อมต่อชุมชนสำคัญในพื้นที่ พร้อมกำหนดจุดจอดรถสาธารณะในทุกสนามบินพาณิชย์ทั้ง 39 แห่งทั่วประเทศ ทั้งสนามบินที่เป็นหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน โดยเริ่มดำเนินการเป็นรูปธรรมแล้วในปี 2560 และจะขยายผลครบทุกแห่งภายในปี 2561 โครงการ TAXI OK และ TAXI VIP เพื่อยกระดับความปลอดภัยและการให้บริการของแท็กซี่ไทย ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา กำหนดให้รถแท็กซี่จดทะเบียนใหม่ทุกคันติดตั้งอุปกรณ์ส่วนควบเพื่อความปลอดภัย การปฏิรูปเส้นทางรถโดยสารประจำทางพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นการพัฒนาระบบการขนส่งมวลชนด้วยรถโดยสารประจำทางในกรุงเทพมหานครที่กรมการขนส่งทางบกเป็น Regulator บริหารจัดการเดินรถ มุ่งเน้นการเป็น Feeder การเข้าถึง เพิ่มทางเลือก เชื่อมต่อระบบ การขนส่งรูปแบบอื่น (Connectivity) ด้วยการออกแบบระบบการขอรับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผ่านการคัดเลือก คัดสรร แข่งขัน เชิงคุณภาพ ส่งเสริมการประกอบการขนส่งแบบมืออาชีพ

กรมการขนส่งทางบกดำเนินการสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล “ทำก่อน ทำจริง ทำทันที เกิดผลสัมฤทธิ์และยั่งยืน” โดยเน้นความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ในทุกกระบวนการและปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ มีมาตรฐานความปลอดภัย และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน พัฒนากรมการขนส่งทางบกเป็นหน่วยงานที่มีความทันสมัยในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ลดการใช้เอกสาร การจัดให้มีศูนย์ราชการสะดวกที่สำนักงานขนส่งและสาขาทุกแห่งทั่วประเทศ ปรับปรุงระบบงานให้สามารถรองรับการดำเนินงานแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เต็มรูปแบบ เช่น การส่งข้อมูลจากสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) เข้ากับระบบการชำระภาษีรถยนต์ประจำปีแบบ Online Real-time ด้านงานบริการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน โดยเปิดช่องทางการรับชำระภาษีรถหลากหลายช่องทาง อาทิ รับชำระภาษีรถยนต์ ณ สำนักงาน ชำระภาษีรถผ่านช่องทาง “เลื่อนล้อ ต่อภาษี” (Drive Thru for Tax) ชำระภาษีรถที่ห้างสรรพสินค้า ในวันเสาร์ – อาทิตย์ ตามโครงการ “ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี” ชำระภาษีรถผ่านทางไปรษณีย์ ชำระภาษีรถผ่านเว็บไซต์และผ่านโทรศัพท์มือถือ

กรมการขนส่งทางบกจะมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพงานบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกเป็นธรรม และสามารถตรวจสอบได้ รวมถึงเป็นที่ยอมรับของสังคม ได้รับความไว้วางใจ และเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย มุ่งมั่นเดินหน้าพัฒนาต่อเนื่อง ด้วยผลงานที่ผ่านมาถึงวันนี้ตลอดระยะเวลา 76 ปี จนได้รับการยอมรับจากสังคมสาธารณะและทุกภาคส่วน ด้วยรางวัลอันทรงคุณค่า รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) ต่อเนื่องติดต่อกัน 15 ปีซ้อน ตั้งแต่ปี 2546 – 2560 รวมทั้งสิ้น 81 รางวัล รางวัลศูนย์ราชการสะดวก Government Easy Contact Center: GECC ตลอดจนรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ “สังข์เงิน” ในปี 2553 และปี 2559 จากสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย และล่าสุดรางวัล Prime Minister Road Safety Awards ในงานสัมมนาระดับชาติ ครั้งที่ 13 บทพิสูจน์โครงการ “มั่นใจทั่วไทย รถใช้ GPS” ต้นแบบการลงทุนเพื่อความปลอดภัยทางถนนอย่างยั่งยืน ด้วยระบบบริหารจัดการการเดินรถที่มีประสิทธิภาพเป็นรูปธรรม อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวในที่สุด335424 335426335454 335455 335459 335513 335514 335515 335516 335518
f

 

sunwin | sunwin | sunwin | sunwin | sunwin