ชุมชนบ้านแม่ซา อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ จัดการชุมชนด้วยการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าน้ำ โดยอาศัยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและวิถีปกาเกอะญอในการบริหารจัดการ ทำให้การดำรงชีวิตของชุมชนอุดมสมบูรณ์และเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป..
หมู่บ้านแม่ซา ซึ่งเป็นหมู่บ้านชนเผ่ากะเหรี่ยง หรือปกาเกอะญอ ที่อยู่อาศัยพื้นที่แห่งนี้มานา ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 170 กม.โดยใช้เส้นทางเชียงใหม่ จอมทอง หลังจากนั้นก็ขับขึ้นดอยอิทนนท์ ลงสู่อำเภอแม่แจ่ม และจากตัวอำเภอแม่แจ่มเดินทางไปยังบ้านแม่ชาอีกประมาณ 60 กม. พื้นส่วนใหญ่ป่ามีภูเขาสลาดซับซ้อนเขียวขจีเต็มไปด้วยป่าธรรมชาติและผสผสานทุ่งไร่ข้าวโพดเกษตรกร ซึ่งถนนจะลาดยางตลอดสายจนถึงหมู่บ้าน ประชาชนอาศัยอยู่สอง ฝั่งน้ำสมาชิกในหมู่หมู่ประมาณ 200 ครัวเรือน 700 กว่าชีวิต ส่วนใหญ่ นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ วิถีชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่ ยึดอาชีพทำนา ทำสวน ผสมผสานกับการทำไร่หมุนเวียนเป็นบางส่วน
นายทนงศักดิ์ ม่อนดอก ชายกลาย 48 ปี ผู้นำชุมชนภาคประชาชน กล่าวว่าเมื่อ 20 ปีก่อน น้ำแม่แจ่ม ตอนบน ไม่มีกฎกติกา ในการจัดการในการจัดการบริหารทรัพยากรน้ำ (สัตว์น้ำ )อย่างเป็นระบบ ทำให้ชาวบ้านต่างหาวิธี ทุกอย่าง ไร้การอนุรักษ์ เช่น การใช้ไฟฟ้าช็อคปลา เบื่อ ใช้ระเบิด จนรู้สึกว่าปลาและพันธ์สัตว์น้ำ สูญหายไปเรื่อย ๆ จนแทบไม่หลงเหลือให้หากินอีกเลย ตนและเพื่อน ได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระอยู่หัว และเอาความเชื่อวิถีชาวปกาเกอะ มาปรับใช้ในการดำรงชีวิต และได้มี โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯเข้ามาร่วมกับชาวบ้าน มีแนวคิด ปล่อยปลา เพื่อชาวบ้านมีปลาให้กิน โดยกางเขตพื้นที่ ประมาณ 2 กม. โดยได้ตั้งกฎ ในชุมชน โดยมีข้อห้ามจับปลา ว่าใครจับจะต้องถูกลงโทษตามกฎ ของชุมชนที่ชาวบ้านตั้งขึ้นมา เมื่อผ่านไป 1 ปี ชาวบ้านเห็นว่า ปลาที่เคยปล่อย ประเภทอยู่ในบ่อเลี้ยง ปลานิล ปลาใน ปลายี่สบ แต่ปลาธรรมชาติดั้งเดิมของนำแม่แจ่ม กลับมาให้เห็น แต่ละปี ยิ่งเพิ่มมากขึ้นทำให้ชาวบ้าน รู้สึกว่า ได้ผล ในการอนุรักษ์ จึงประกาศตั้งกรรมการอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำ และพื้นที่ดังกล่าวคือแหล่งเพาะพันธ์สัตว์น้ำ เพราะธรรมชาติของปลา ส่วนใหญ่จะ ออกไข่ในช่วงหน้าหนาวและหน้าฝน แต่เมื่อถึงฤดูฝน น้ำขุ่นและไหลแรง ไม่ค่อยจะมีใครหาปลากัน จึงทำให้ปลาเติบโต และแพร่พันธ์ นอกเขตอนุรักษ์ และทำให้ชาวบ้านมีปลาให้กิน มากขึ้น จึงเป็นวิธีการอย่างหนึ่งในการใช้ความเข้มแข็งของชาวบ้านดูแลร่วมกัน ปัจจุบัน ในชุมชนมีอาหารการกินอย่างอุดมสมบูรณ์กว่าที่ผ่านมา ที่ผ่านาได้มีนักวิชาการ นักวิจัย จากมหาวิยาลัยต่าง ๆ ตลอดจนสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิตได้เข้ามาศึกษาวิจัยร่วมกับชาวบ้าน และเครือข่ายชุมชนรักษ์ป่า ปัจจุบันในเขตชุมชนบ้านแม่ชา มีปลาทั้งหมด 38 สายพันธ์ และสัตว์น้ำอย่างอื่นอีก 5-6 ชนิดเช่น กุ้ง หอย เต่า และสัตว์น้ำอื่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และทำให้อีกหลายหมู่บ้านที่อยู่ติดกับน้ำแม่แจ่ม ได้มาปรึกษาศึกษาเกี่ยวกับการ อนุรักษ์ปลาของหมู่บ้านเราอย่างไม่ขาดสายเพื่อเอาแบบอย่างไปใช้กับชุมชนเขา และทุกหมู่บ้านต่อไป
นอกจากนี้ในช่วงฤดูร้อนชุมชนเป็นแหล่งรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเล่นน้ำล่อแพไม้ไผ่ ทำให้สมาชิกในชุมชนมีรายได้จากการนำนักท่องเที่ยวล่อแพ รวมถึงกลุ่มแม่บ้านยังได้ขายของที่ระลึกผ้าทอกะเหรี่ยง และของมีค่าอื่น ๆ อีกด้วย
ในส่วนการจัดการเรื่องการอนุรักษ์ป่า ของบ้านแม่ชา ซึ่งเริ่มจากการดูแลป่า ไม่ตัดหรือทำลายป่า ปลูกป่าเสริมในจุดที่เป็นป่าเสื่อมโทรม โดยอาศัยภูปัญญาชาวบ้านและนักปรัชชาวบ้านคนรุ่นเก่า ๆ เป็นที่ปรึกษา โดยใช้เวลาไม่ถึง 10 ปี ทำให้ชุมชนบ้านแม่ชาเต็มไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด โดยเฉพาะฤดูฝนจะเห็นป่าเขียวขจี จึงมีสัตว์ป่า เช่น เก้ง กวาง หมูป่า ไกป่า มาอาศัยป่านี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย
สำหรับปัญหาอุปสรรค ที่ผ่านมาปัญญามีอยู่บ้าง เพราะเราจะต้องปลูกในเวลาเดียวกับเวลาเพาะปลูก ต้องใช้เวลาความพร้อมของชาวบ้าน การปลูกในพื้นที่ต่างๆต้องผ่านการพิจารณาของประขาคม เพราะทุกพื้นที่ โล่งแจ้ง คือจะเป็นที่ทำกินชาวบ้าน แต่มีชาวบ้านบางคนมีพื้นที่ทำกินเยอะยินดีคืนเป็นป่าให้กับเรา และกรรมการอนุรักษ์หมู่บ้านจะรีบจัดการทันที เนื่องจากที่ผ่านมาช่วง 15-20 ปี ที่ผ่านมา ได้มีบริษัทนายทุนยักษ์ใหญ่ ได้มาส่งเสริมชาวนบ้านในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยปลุกปันทางแนวความคิดให้ชาวบ้านบุกรุกป่าเพื่อปลูกข้าวโพดจำนวนมาก ๆ โดยมีแรงจูงใจด้านการเงินและซื้อรถยนต์ให้ จึงทำให้ป่าแม่แจ่มตอนบน กลายเป็นดอยหัวโล้นในพริบตาโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่ปีนี้เอง ซึ่งคณะกรรมการเราก็ส่งเสริมปลูกจิตรสำนึกให้ชาวบ้านให้ความสำคัญกับป่ามากกว่าตามนายทุนจึงประสบปัญหาบ้างแต่ ขณะนี้ถือว่าเราทำงานเพื่อชุมชนบ้านแม่ชา โดยไม่มีเงินเดือนแม้แต่บาท เราถือว่าสำเร็จแล้ว..
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วชรพงศ์ มีทรัพย์กว้าง/รายงาน











