ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2559 เวลา 14:20 น. นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางด้วยรถยนต์ตู้ ยี่ห้อ โฟล์ค หมายเลขทะเบียน กธ-77 เชียงใหม่ สีครีม เดินทางจังหวัดเชียงใหม่ถึงวัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เพื่อเข้ากราบนมัสการพระเทพรัตนนายก เจ้าคณะจังหวัดลำพูน/เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร ณ คณะสะดือเมือง วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน โดยมีนายสงวน พงษ์มณี อดีต สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(1) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลำพูน เขต 1 พรรคไทยรักไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลำพูน เขต 1 พรรคเพื่อไทย,นายรังสรรค์ มณีรัตน์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน เขต 2 พรรคเพื่อไทย ให้การต้อนรับ พร้อมด้วย นายสมชาย วงษ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี,นายวรชัย เหมมะ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสมุทรปราการ เขต 4 ,นายสุรพล เกียรติไชยากร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่เขต 4 พรรคเพื่อไทย ในโอกาสเดินทางร่วมงานบุญสลากย้อม ประจำปี 2559 โดยมีประชาชนที่ทราบข่าวต่างเดินทางให้การต้อนรับท่ามกลางบรรยากาศที่อบอุ่น ก่อนถวายเครื่องสักการะพระราหูทรงครุฑด้วยของดำมงคล 9 อย่าง จากนั้นไปสักการะพระบรมธาตุหริภุญชัย และชมต้นสลากย้อม ที่บรรดาประชาชน 8 อำเภอ(เมือง ป่าซาง บ้านธิ บ้านโฮ่ง แม่ทา ลี้ ทุ่งหัวช้าง เวียงหนองล่อง)ได้ตกแต่งดาเพื่อถวายทานในวันที่ 16 กันยายน 2559 ต่อด้วยการกราบสักกานะรูปเหมือนพระนางจามเทวี ณ ศาลเจ้าแม่จามเทวี ตั้งอยู่บริเวณทิศใต้ภายในศาลากลางจังหวัดลำพูน และเดินทางกลับในเวลา 17:10 น.
จังหวัดลำพูน จัดงานประเพณีสลากย้อมเมืองลำพูน หนึ่งเดียวในโลก อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการอนุรักษ์ และมสืบสานประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามที่มีความโดดเด่นทางวิถีชีวิต ชุมชน ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนเพื่อเชื่อมโยง สู่การท่องเที่ยวของภูมิภาคและประเทศ ซึ่งประเพณีสลากภัตร , สลากย้อม , พิธีถวายทานสลากภัตร หรือ การตานก๋วยสลาก เป็นประเพณีมีลักษณะพิเศษ คือ ให้ผู้หญิงเป็นเจ้าภาพได้เท่านั้น กุศโลบายที่สำคัญ คือ จะจัดทำได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นเพราะ สิ่งสำคัญ คือ สลากต้องมีความสวยงาม ใช้จตุปัจจัยในการเตรียมงานมาก
ทั้งนี้ กิจกรรมที่สำคัญประกอบด้วย ริ้วขบวนแห่ต้นสลากย้อมตามถนนอินทยงยศ และ การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน สาธิตการประดิษฐ์ ครัวหย้อง ของใช้ชาวล้านนา , การแสดง แสงสีเสียง ทางวัฒนธรรม เกี่ยวกับ ประวัติ ความเป็นมาของ ประเพณี สลากย้อม, การประกวดต้นสลากย้อม , การแสดง ละครประกอบนาฏศิลป์ , การ ประกวดการฮ่ำกะโลง อ่านเส้นสลาก และ การ ประกอบพิธีถวายทานสลากภัต