๒๘ ธันวาคม วันราชันกอบกู้เอกราช วันศาสนาประจำชาติไทยพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติไทย ตามพระราชปณิธานแห่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๒๘ ธ.ค. ๒๕๕๘ นี้ เป็นวันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ลูกหลานไทยควรศึกษาพระราชประวัติและพระราชปณิธานของพระองค์ท่านเป็นการศึกษารากเหง้าความเป็นไทย เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงมีต่อชนชาติไทยอย่างหาที่สุดมิได้ และเพื่อเป็นเครื่องเตือนสติลูกหลานไทย ให้สำเนียกไว้เสมอว่า พระองค์เหนื่อยยากต่อสู้กอบกู้แผ่นดิน คืนมาได้ ให้คนรุ่นหลังมีแผ่นดินได้ยืน ได้เดิน ได้นั่ง ได้นอน อย่างสง่างาม ได้พูดเต็มปากเต็มคำว่า “เรามีแผ่นดินแม่ แผ่นดินเกิดของเรา”
พระองค์เอาแผ่นดินที่แลกมาด้วยเลือดเนื้อและชีวิต “ถวายให้เป็นพุทธบูชา” อันเป็นเครื่องสักการะบูชาสูงสุดในนามยอดนักรบเช่นพระองค์ท่าน
แผ่นดินนี้จึงเป็นแผ่นดินพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาประจำชาติไทย หากมัน ผู้ใด ทุรยศต่อสัจจะและปณิธานอันนี้ของพระองค์ ขอเลือดมันและโคตรเหง้ามัน ผู้นั้น จงตกต้องแผ่นดิน อย่าให้ล่วง ๗ ราตรี สมดังพระราชปณิธานแห่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ทรงตั้งไว้
อันตัวพ่อชื่อว่าพระยาตากทนทุกข์ยากกู้ชาติพระศาสนาถวายแผ่นดินให้เป็นพุทธบูชาแด่พระศาสดาสมณะพระพุทธโคดม ให้ยืนยงคงถ้วนห้าพันปี
สมณะพราหมณ์ชีปฏิบัติให้พอสมเจริญสมถะวิปัสนาพ่อชื่นชมถวายบังคมรอยพระบาทพระศาสดา คิดถึงพ่อพ่ออยู่คู่กับเจ้า ชาติของเราคงอยู่คู่พระศาสนาพุทธศาสนาอยู่ยงคู่องค์กษัตราพระศาสดาฝากไว้ให้คู่กันฯ
พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชหรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงมีพระนามเดิมว่า “สิน”พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๒๗๗ พระราชบิดาเป็นชาวจีนแต้จิ๋ว ชื่อ “นายไหฮอง” ได้สมรสกับหญิงไทยชื่อ”นางนกเอี้ยง” ในช่วงรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (สมเด็จพระธรรมราชาธิราชที่ ๓) ซึ่งเจ้าพระยาจักรีได้ขอไปอุปการะเป็นบุตรบุญธรรมตั้งแต่ครั้งเยาว์วัย ครั้นอายุ ๕ ปี เจ้าพระยาจักรีได้นำไปฝากเรียนกับพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส (วัดคลัง) ทรงศึกษาหนังสือขอมและหนังสือไทยจนจบบริบูรณ์ตลอดจนศึกษาพระไตรปิฎกจนแตกฉาน
ต่อมาเมื่ออายุครบ ๑๓ ปี เจ้าพระยาจักรีได้นำตัวเด็กชายสิน ไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศและได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ทำราชการกับหลวงศักดิ์นายเวรซึ่งเป็นบุตรของเจ้าพระยาจักรีเมื่อมีเวลาว่างจะศึกษาหาความรู้กับอาจารย์ชาวจีนอาจารย์ชาวญวน และอาจารย์ชาวแขก จนเชี่ยวชาญและสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่วทั้ง 3 ภาษา
ครั้นเมื่ออายุครบ ๒๑ ปี ได้อุปสมบท ณ วัดโกษาวาส ทรงดำรงอยู่ในสมณเพศได้ ๓ พรรษา จึงลาสิกขาและกลับมารับราชการตามเดิม ด้วยความฉลาด รอบรู้ขนบธรรมเนียมตลอดจนภารกิจต่างๆ อย่างดีสามารถทำงานต่างพระเนตรพระกรรณได้จนได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เป็นมหาดเล็กรายงานราชการทั้งหลายในกรมมหาดไทย และ กรมวังศาลหลวง
ครั้น พ.ศ. ๒๓๐๑ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพรเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ ๓ เดือนเศษ ก็ถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเชษฐาธิราช “สมเด็จพระบรมราชาที่ ๓”(สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์)สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นายสินมหาดเล็กรายงานเป็นข้าหลวงเชิญท้องตราพระราชสีห์ไปชำระความที่หัวเมืองฝ่ายเหนือ ซึ่งปฏิบัติราชการได้รับความดีความชอบมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตากช่วยราชการพระยาตาก ครั้นพระยาตากถึงแก่กรรมก็ทรงโปรดให้เลื่อนเป็น “พระยาตาก ปกครองเมืองตาก”
ในปี พ.ศ. ๒๓๐๗ พม่ายกกองทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ของไทย โดยมีมังมหานรธาเป็นแม่ทัพตีเรื่อยตลอดหัวเมืองทางใต้จนถึงเมืองเพชรบุรีจนกรุงศรีอยุธยาได้ส่งกองทัพไทย มีพระยาโกษาธิบดีกับพระยาตากไปรักษาเมืองเพชรบุรีไว้ จนตีพม่าแตกถอยไปทางด่านสิงขร
ต่อมาปี พ.ศ. ๒๓๐๘ พม่ายกกองทัพมาตีไทยอีก พระยาตาก
ได้มาช่วยรักษาพระนครไว้ได้จึงได้ปูนบำเหน็จความดีความชอบ ได้รับโปรดเกล้าให้เลื่อนเป็น “พระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร” แต่ยังไม่ทันได้ปกครองเมืองกำแพงเพชรก็เกิดศึกกับพม่าครั้งสำคัญจึงถูกเรียกตัวให้เข้ารับราชการในกรุง เพื่อป้องกันพระนคร จนถึงปี พ.ศ. ๒๓๐๙ ขณะที่ไทยกับพม่ากำลังรบกันอย่างดุเดือด พระยาวชิรปราการ เกิดท้อแท้ใจหลายประการคือ
๑. พระยาวชิรปราการ คุมทหารออกไปรบนอกเมืองจนได้ชัยชนะยึดค่ายพม่าได้ แต่ทางผู้รักษาพระนครไม่ส่งกำลังไปหนุน ทำให้พม่าสามารถยึดค่ายกลับคืนได้
๒.ขณะที่ยกทัพเรือออกรบร่วมกับพระยาเพชรบุรี พระยาวชิรปราการ เห็นว่าพม่ามีกำลังมากกว่าจึงห้ามมิให้พระยาเพชรบุรีออกรบ แต่พระยาเพชรบุรี ฝืนออกรบ จนพ่ายแพ้แก่พม่าจนตัวตายในสนามรบ พระยาวชิรปราการ ถูกกล่าวหาว่าทอดทิ้งให้พระยาเพชรบุรีเป็นอันตราย
๓. ก่อนเสียกรุง ๓ เดือน พม่ายกทัพเข้าปล้นพระนคร ทางด้าน
ที่พระยาวชิรปราการรักษาอยู่ เห็นจวนตัว จึงยิงปืนใหญ่ขัดขวาง โดยมิได้ขออนุญาตจากศาลาลูกขุนจึงถูกฟ้องชำระโทษภาคทัณฑ์ด้วยสาเหตุดังกล่าวพระยาวชิรปราการเห็นว่าขืนอยู่ช่วยป้องกันพระนครต่อไปก็ไม่มีประโยชน์อันใดและเชื่อว่ากรุงศรีอยุธยาต้องเสียแก่พม่าในครั้งนี้เป็นแน่ดังนั้นในช่วงพลบค่ำวันเสาร์ขึ้น 4 ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ อัฐศก (พ.ศ. 2309 )พระยาวชิรปราการได้พาเหล่าทหารเอกคือ พระเชียงเงินหลวงพรหมเสนา หลวงพิชัยราชา (ต่อมาเป็นพระพิชัยดาบหัก) หลวงราชเสน่หา
ขุนอภัยภักดีพร้อมสมัครพรรคพวกประมาณ ๕๐๐นายตีฝ่าวงล้อมออกจากค่ายพิชัยมุ่งออกไปจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ตีออกมาทางบ้านหันตรา (ทุ่งหัตรา อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน)กองทัพพม่าบางส่วนได้ไล่ติดตามมาทันที่บ้านข้าวเม่าบ้านส้มบัณฑิต (ในเขตอำเภออุทัย) และต่อสู้กันจนถึงเที่ยงคืนพม่าก็ถอยทัพกลับไปพระยาวชิรปราการจึงพากองกำลังเข้าเลียบชายทะเลด้านตะวันออกเพื่อเกลี้ยกล่อมชาวบ้านให้เข้าร่วมในกองกำลังเข้าโจมตีและผ่านมาที่บ้านนาเริง(เขตอำเภอบ้านนา) แขวงเมืองนครนายก ข้ามแม่น้ำมาที่บ้าน กงแจะด่านเมืองปราจีนบุรีพวกพม่าทราบข่าวได้ตั้งกำลังต่อต้านอยู่ที่ ปากน้ำเจ้าโล้(ไหลลงแม่น้ำบางประกงอำเภอบางคล้า)แขวงเมืองฉะเชิงเทราจึงเกิดการปะทะกันทั้งสองฝ่ายในวันอังคาร ขึ้น 14 ค้ำ เดือนยี่ ปีจอ อัฐศก (พ.ศ. 2309)
หลังจากพระยาวชิรปราการได้รับชัยชนะที่ปากน้ำเจ้าโล้แล้วได้เดินทางมาทางบ้านหัวทองหลางสะพานทอง(อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี) ล่วงเข้ามาในเมืองชลบุรี บริเวณบ้านบางปลาสร้อยและเดินทัพมายังบ้านนาเกลือแขวงเมืองบางละมุงนายกลม(หรือฉบับพระราชหัตถเลขาชื่อว่า นายกล่ำ)เป็นนายซ่องสุมไพร่พลหัวหน้าต่อมาในวันอาทิตย์ แรม 6 ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ อัฐศก (พ.ศ. 2309) นายกลมได้นำกำลังของพระยาวชิรปราการมาค้างแรมที่ “ทัพพระยา” (บางฉบับเรียกว่าพัทยา) รุ่งขึ้นไปที่บ้านนาจอมเทียน ทุ่งไก่เตี้ย สัตหีบ ประทับแรมหนึ่งคืน แล้วเดินทัพตามชายทะเลไปถึงตำบลหิงโขง และบ้านน้ำเก่า แขวงเมืองระยอง เมื่อถึงเมืองระยอง มีพระยาระยอง (บุญเมือง) เป็นเจ้าเมืองไม่ยอมสวามิภักดิ์ พระยาวชิรปราการ จึงทำการตีเมืองระยองได้และปะทะกับกลุ่มของขุนรามหมื่นซ่องที่บ้านประแส แขวงเมืองจันทบูร บ้านไร่บ้านกล่ำเมืองแกลง จนได้รับชัยชนะ มุ่งหน้ายึดจันทบุรีซึ่งเป็นเมืองใหญ่เพื่อใช้เป็นฐานที่มั่น เจ้าเมืองจันทบุรี มิยอมสวามิภักดิ์ พระยาตาก(พระยาวชิรปราการ)จึงต้องใช้จิตวิทยาในด้านการรบมาใช้กับแม่ทัพนายกองฟื้นฟูขวัญกำลังใจของไพร่พลเพื่อต้องการรบให้ชนะโดยสั่งให้ทุบหม้อข้าวหม้อแกงพร้อมเปล่งวาจา“เราจะตีเมืองจันทบุรีในค่ำวันนี้เมื่อกองทัพหุงข้าวเย็นกินเสร็จแล้วทั้งนายไพร่ให้เททิ้งอาหารที่เหลือและต่อยหม้อเสียให้หมดหมายไปกินข้าวเช้าด้วยกันที่ในเมืองเอาพรุ่งนี้ถ้าตีเอาเมืองไม่ได้ในค่ำวันนี้ก็จะตายเสียด้วยกันให้หมดทีเดียว”ครั้นถึงเวลาค่ำพระยาตากจึงได้สั่งให้ทหารไทยจีนลอบเข้าไปอยู่ตามสถานที่ที่ได้วางแผนไว้แล้วให้คอยฟังสัญญาณเข้าตีเข้าเมืองพร้อมกันมิให้ส่งเสียงจนกว่าจะเข้าเมืองได้พอได้ฤกษ์เวลา3นาฬิกาพระเจ้าตากก็ขึ้นคอช้างพังคีรีบัญชรพร้อมยิงปืนสัญญาณแจ้งแก่เหล่าทหารเข้าตีเมืองพร้อมกันทรงไสช้างเข้าพังประตูเมืองจนยึดเมืองได้สำเร็จ
ครั้นถึง พ.ศ. ๒๓๑๐ พม่าก็ยกทัพตีพระนคร นับเป็นเวลาที่พม่าล้อมค่ายอยู่ถึง๑ปี๒เดือนกรุงศรีอยุธยาจึงเสียแก่พม่าในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ถือเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยาหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้วบ้านเมืองเกิดแตกแยกหัวเมืองต่างๆตั้งตัวเป็นใหญ่ต่างคนต่างรวมสมัครพรรคพวก ตั้งเป็นก๊กต่างๆ ได้แก่ ก๊กสุกี้พระนายกอง ก๊กพระยาพิษณุโลก ก๊กพระเจ้าฝาง ก๊กเจ้าพระยานครศรีธรรมราช และก๊กเจ้าพิมาย พระยาวชิรปราการได้จัดเตรียมกองทัพอยู่เป็นเวลา ๓ เดือนก็ยกกองทัพเรือเข้ามาทางปากน้ำเจ้าพระยา จนตีเมืองธนบุรีแตก จับนายทองอินประหาร แล้วเลยไปตีค่ายโพธิ์สามต้น แตกยับเยิน สุกี้พระนายกองตายในที่รบขับไล่พม่าออกไปพ้นแผ่นดินไทยสำเร็จ ในปีพ.ศ.๒๓๑๐ซึ่งใช้เวลากู้อิสรภาพกลับคืนจากพม่าภายในเวลา ๗ เดือนเท่านั้น
จากนั้น พระยาตาก (พระยาวชิรปราการ) จึงยกทัพกลับมากรุงธนบุรี ทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีและปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๑ ทรงพระนามว่า “สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔”แต่ประชาชนนิยมเรียกพระนามว่า “พระเจ้าตากสิน” จากนั้นทรงยกกองทัพไปปราบปรามก๊กต่างๆ จนราบคาบทรงใช้เวลารวบรวมอาณาเขตอยู่ ๓ ปี คือตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๑ –พ.ศ.๒๓๑๓จนกอบกู้เอกราชรวมเป็นพระราชอาณาจักรเดียวดังเดิม
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงครองราชย์เป็นเวลา๑๕ปีจึงทรงสวรรคตเมื่อ วันเสาร์ เดือน ๕ แรม ๙ ค่ำ จศ. 1144 ปีขาล ตรงกับวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ สิริพระชนมายุได้ ๔๘ พรรษาพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งพระมหากษัตริย์เป็นราชันแห่งราชันที่ทรงพระปรีชาสามารถพระนามของพระองค์จะอมตะจารึกคู่พระพุทธศาสนาสืบไปเป็นนิรันดร์
เพลง คิดถึงพ่อ-พระยาตาก
https://m.youtube.com/watch?v=ELcAee0VF6I&feature=youtu.be
ขอบคุณข้อมูลจาก พ.อ.วัชรพงศ์ แก้วแจ้ง เสนาธิการกองกำลังผาเมือง…