ภารกิจสำคัญกองพลทหารราบที่ 7 ในการปราบปรามทำลายไร่ฝิ่นพื้นที่อำเภออมก๋อย เป็นแหล่งปลูกฝิ่นมากที่สุดของประเทศไทย และส่งเสริมอาชีพชาวไทยภูเขา ตามโครงการพระราชดำริฯอันยั่นยืนต่อไป..
ประเทศไทย ถือว่าเป็นหนึ่งประเทศในสมาชิกกลุ่มอาเซียน ที่ยังมีพื้นปลูกฝิ่น อยู่จำนวนมาก รองลงมาจาก ประเทศพม่า และ ลาว โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน อำเภออมก๋อย จ.เชียงใหม่ ยังรักษาแชมป์ ที่มีพื้นที่ปลูกฝิ่นมากที่สุดของประเทศ เป็นเวลาติดต่อกันหลายปี จากการสำรวจพื้นที่ปลูกฝิ่นของสถาบันสำรวจและติดตามการปลูกพืชเสพติด พบว่าพื้นที่ จากการสำรวจพื้นที ปลูกฝิ่น ปี 2556– 2557 ประเทศไทย มีการปลูกฝิ่น จำนวน 2,568 แปลง คิดเป็นพื้นที่ จำนวน 2,049.87 ไร่ โดยมีพื้นที่ปลูกฝิ่นในอำเภออมก๋อย จำนวน 1,970 แปลง คิดเป็นพื้นที่ จำนวน 1,539.82 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 75.12 ของทั้งประเทศ ใน ปี 2557 – 2558 ประเทศไทยพบว่ามีพื้นที่ปลูกฝิ่นลดลงเหลือ จำนวน 1,519 แปลง คิดเป็นพื้นที่ จำนวน 1,202.05 ไร่ โดยมีพื้นที่ปลูกในอำเภออมก๋อย จำนวน 847 แปลง คิดเป็นพื้นทีจำนวน555.36 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 46.2 ของทั้งประเทศ
พลตรีอุทัย ชัยชนะ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 7 ในฐานะผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงพื้นที่อำเภออมก๋อย เปิดเผยว่า ตามที่ รัฐบาลได้มีคำสั่ง ศพส. ที่ 23/2555 เรื่อง การปฏิบัติพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด อย่างยั่งยืน ปี 56 นั้น ได้ยกระดับพื้นที่ อ.อมก๋อย เป็นพื้นที่พิเศษ ตามแผน 7ให้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการเป็นการเฉพาะ มอบหมายให้ กองทัพ ภาคที่ 3 และ กอ.รมน.ภาค 3 เป็นหน่วยรับผิดชอบ โดยจัดกลไกบริหารจัดการและมีกำลังปฏิบัติการ, ประสานงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่, องค์กรในพื้นที่, โครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาการปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืนและโครงการพระราชดำริ โดยมีภารกิจสำคัญ คือ- ลดปัญหาการปลูกฝิ่น- ป้องกันเด็ก เยาวชนรุ่นใหม่ ไม่ให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติ – บำบัดรักษาผู้เสพ และติดยาเสพติด เน้นกลุ่มเรื้อรัง- ปราบปรามผู้ค้ายาเสพติด และผู้มีอิทธิพล จัดการปัญหาที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ และ แผนปฏิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด ปี 57 ตามแผนงานที่ 6 แผนการสกัดกั้นยาเสพติด โดยมีเป้าหมาย เพื่อลดปริมาณการลักลอบ ขนย้ายยาเสพติดและการนำเข้าจากนอกประเทศ ด้วยการจับกุม ปราบปรามยาเสพติดหมู่บ้านเป้าหมายมีความเข้มแข็ง เชิงคุณภาพ มีระบบเครือข่ายป้องกันยาเสพติดอย่างมมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
ขณะเดียวกัน กองทัพ ภาคที่ 3 และ กอ.รมน.ภาค 3 ได้ออกคำสั่ง เรื่องจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัด เชียงใหม่ โดยมอบหมายให้ กองพลทหารราบที่ 7 รับผิดชอบ จัดตั้ง ศมพ.อ.อมก๋อย ขึ้น
พ.อ.สุรพัฒน์ ลำลอง รอง เสธนาธิการกองทหารราบที่ 7 และรองผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงพื้นที่อำเภออมก๋อย กล่าวว่า สำหรับ แนวความคิดในการแก้ปัญหาพื้นที่ปลูกฝิ่นในพื้นที่ จะช่วย ทำให้คนที่ใช้ฝิ่นเลิกปลูกฝิ่น ส่งเสริมอาชีพใหม่ ต้องมีรายได้ที่เหมาะสม ให้ยืนได้ด้วยตัวเอง ตามวิถีของคนชนเผ่า การเข้าถึงระบบสาธารณสุข และต้องทำงานเชิงรุก ให้ชาวบ้านมีสุขภาพที่ดี โดยไม่ต้องพึ่งฝิ่น ไม่ให้รู้สึกว่าฝิ่นคือยา และสร้างค่านิยมไม่ให้คนรุ่นใหม่ใช้ฝิ่น ชุมชนที่เกี่ยวข้องเฉพาะที่ห่างไกล ต้องมีส่วนร่วมกับ การป้องกันโดยให้ชุมชน ให้การศึกษาแก่เด็กเยาวชน เข้ามามีบทบาทอย่างจริงจัง ด้านการปราบปรามจะมีการ กดดัน ปราบปรามอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง เด็ดขาด เพื่อ สร้างจิตสำนึกของคนส่วนใหญ่ ของคนในชุมชนให้เข้ามามีบทบาทให้มากที่สุด ประชาชนต้องเข้าถึงสิ่งต่างๆ เท่าเทียมกัน ต้องมีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะถนนที่ดีก่อน จะสามารถขนส่งผลิตผลทางการเกษตรได้ เดินทางไปรักษาพยาบาลได้ ไปโรงเรียนได้ สำหรับ ระยะเร่งด่วน ต้องมีหน่วยงานเป็นหน่วย เข้าไปอยู่ในพื้นที่ทำงานทั้งปี และมีหน่วยงานที่ค่อนข้างใหญ่ สามารถบูรณาการหน่วยงานได้ทุกหน่วยงาน มีหน่วยงานที่ทำงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น กรมทางหลวง กรมชลประทาน/กรมเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมพัฒนาชุมชน และอื่นๆ ต้องลงไปพร้อมกัน พัฒนาสร้างรายได้ให้ประชาชนได้ถึงสิ่งเหล่านี้ โดยใช้หลักพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯ “เข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา”
ขณะที่ พ.ท. สันติพงษ์ ชิงดวง หัวหน้าฝ่ายยุทธการ พล.ร.7 และ หัวชุดปฏิบัติการปราบปรามไร่ฝิ่นและ ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงพื้นที่อำเภอ อมก๋อย กล่าวว่า ในส่วน มาตรการ การตัดทำลายสามารถตัดทำลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในระหว่างปี 2557 – 2558 นั้น มีการใช้มาตรการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องกับเป้าหมายที่มีฐานข่าว ทำให้ผู้เกี่ยวข้องเกรงกลัว พื้นที่ปลูกฝิ่นลดลงอย่างต่อเนื่อง ปี 2559 นั้นเราจะมุ่ง เพิ่มความเข้มข้นในด้านงานข่าวและปราบปราม พัฒนาความสัมพันธ์กับชาวบ้านโดยใช้แผนงานด้านมวลชน การป้องกันกลุ่มเสี่ยง และเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง บำบัดรักษา ฟื้นฟู และติดตามผู้เสพยาเสพติดให้ครบตามเป้าหมาย และส่งเสริมอาชีพ ให้กับราษฎรในพื้นที่เป้าหมายให้มีอาชีพที่ถูกกฎหมายและเลี้ยงชีพได้อย่างมั่นคง พร้อมกับสร้างความสัมพันธ์และพัฒนาแนวความให้แก่คนรุ่นใหม่เพื่อเป็นแบบอย่างของชุมชนต่อไป..
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
โดย..วชรพงศ์ มีทรัพย์กว้าง