ที่วิหารหลวง วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ลำพูน พ.อ.บุญยืน อินกว่าง รอง ผบ.พล.ร.7 ฐานะ ผบ.กกล.รส.พล.ร.7(จว.ล.พ.) พร้อมด้วย พ.ท.นพดล คามเกตุ เสนาธิการ กกล.รส.พล.ร.7(จว.ล.พ.) และ ชค.ที่ 1(ร.7 พัน.1) จัดพิธีถวายเทียนจำพรรษาคู่ ของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม./รมต.กห. ร่วมกับประชาชนในพื้นที่ และนักท่องเที่ยวที่เข้าร่วมจำนวน 200 คน เมื่อวันที่ 30 ก.ค. 58 โดยมีพระราชปัญญาโมลี เจ้าคณะ จ.ลำพูน/เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัยฯ เป็นผู้รับมอบ
หลังจากนั้นพระราชปัญญาโมลี เจ้าคณะ จว.ลำพูน/จอว.พระธาตุหริภุญชัยฯ ได้มอบองค์พระบรมธาตุหริภุญชัยจำลองให้แก่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม./รมต.กห.ผ่าน รอง ผบ.พล.ร.7/ผบ.กกล.รส.พล.ร.7 จว.ล.พ.อีกด้วย และในเวลา 19:00 น. จ.ลำพูนได้จัดให้มีพิธีเวียนเทียนรอบองค์พระบรมธาตุหริภุญชัย และฟังพระธรรมเทศนา ณ วัดพระธาตุหริภุญชัยฯ เช่นกัน จึงขอเชิญพุทธศาสนิกชนและผู้มีจิตเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเข้าร่วมพิธีโดยพร้อมเพรียงกัน หรือประกอบพิธีสมาทานเบญจศีล ฟังธรรม เจริญภาวนา ที่วัดใกล้บ้าน และงดเว้นการเกี่ยวข้องกับสิ่งอบายมุข
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า บรรยากาศการท่องเที่ยวใน จ.ลำพูนเนืองแน่นไปด้วยประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เดินทางจากในจังหวัดและต่างจังหวัดเดินทางหลั่งไหลเข้าสักการะพระบรมธาตุหริภุญชัยทีประดิษฐานอยู่ภายในวัดพระธาตุหริภุญชัยฯแห่งนี้ นับป็นโบราณสถานอันสำคัญของ นครหริภุญชัย(ลำพูน)ในปัจจุบัน ประชาชนและนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มากันแบบครอบครัวร่วมทำบุญเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา กรอปกับเป็นวันหยุดยาวติดต่อกัน 4 วันมาร่วมทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัวต่อไป
ประวัติขององค์พระบรมธาตุหริภุญชัย เป็นโบราณสถานอันสำคัญของนครหริภุญชัยที่ พระเจ้าอาทิตยราช เป็น ผู้สถาปนาขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 17 เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อันมีธาตุกระหม่อม ธาตุกระดูกอก ธาตุกระดูกนิ้วมือ และธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง ตามพุทธทำนายลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุหริภุญชัย ตามที่ปรากฏในหนังสือตำนานพระธาตุหริภุญชัย กล่าวว่า มีลักษณะ เป็นสถูปสี่เหลี่ยมทรงปราสาท ที่มีซุ้มทวาร เข้า- ออกทะลุกันได้ทั้งสี่ด้าน มีปราสาทสี่เหลี่ยมอยู่ตรงมุมละองค์ก่อด้วยศิลาแลง เป็นวัตถุดิบที่มีมากอยู่ในเมืองนี้ ภายในเป็นแท่น สำหรับประดิษฐาน พระโกศที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในสมัยของพญา สรรพสิทธิ์ กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ โปรดให้ปฏิสังขรณ์เจดีย์เดิมที่พญาอาทิตยราชทรงสร้างไว้และได้ขุดร่องทวารประตูเข้า-ออก ทั้งสี่เพื่อความปลอดภัย รูปทรงสัณฐานขององค์พระบรมธาตุยังคงเป็นลักษณะเดิม คือ เป็นทรงปราสาทสี่เหลี่ยมที่กว้างใหญ่และสูง เมื่อ พญามังราย ตีเมืองหริภุญชัยได้ โปรดให้ซ่อมแซมดัดแปลงองค์พระธาตุขึ้นใหม่ การปฏิสังขรณ์ครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทรวดทรง ขององค์พระธาตุฯ จากทรงปราสาทกลายเป็นทรงเจดีย์ฐานกลมแบบทรงลังกา ในสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมาประมาณปี พ.ศ. 1951 โปรดให้มีการปิดทององค์พระธาตุ พ.ศ. 1990 พระเจ้าติโลกราชกษัตริย์องค์สำคัญแห่งเมืองเชียงใหม่ ทรงร่วมกับ พระมหาเมธังกรเถระ ก่อพระมหาเจดีย์ให้สูงขึ้นเป็น 92 ศอก กว้างยาวขึ้น 52 ศอก เป็นรูปร่างที่เห็นเป็นอยู่ในปัจจุบัน
วัชรพงษ์ มีทรัพย์กว้าง / รายงาน




